วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บันทึกอนุทิน 27 เมษายน 2559

Note 13


วิธีการเขียนแผน IEP

 ความเป็นมา
       แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program :IEP) เกิดจากการออกกฎหมายโดยรัฐบาลกลางของประเทศสหรัฐอเมริกาชื่อ Education for All Handicapped Children Act of 1975 หรือ เรียกสั้น ๆ ว่า Public Law 94-142 (PL94-142) ซึ่งมีผลบังคับใช้ในปี ค.ศ.1977 โดยกำหนดให้เด็กพิการทุกคนที่มีอายุระหว่าง 3-21 ปี ได้รับการศึกษาและมีการกำหนดให้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณ เพื่อการศึกษาพิเศษเพิ่มขึ้นจากในอดีตเป็นอันมาก ต่อมาในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1990 PL 94-142 ได้ปรับเปลี่ยนเป็น Individuals with Disabilities Education Act : IDEA (PL 101 - 486 ) และนอกจากนี้กฎหมายฉบับนี้ยังได้กำหนดให้มีการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลให้กับเด็กพิเศษ โดยมีการกำหนดจุดประสงค์ การวางแผนและการติดตามความก้าวหน้า

 ความหมาย
     แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล หมายถึง แผนซึ่งกำหนดแนวทางการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของบุคคลพิการแต่ละบุคคล ตลอดจนกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาให้เป็นเฉพาะบุคคล

วัตถุประสงค์ในการใช้ IEP     มีอยู่ 2 ประการ คือ
1. IEP เป็นแผนที่เขียนขึ้นเป็ฯลายลักษณ์อักษรสำหรับเด็กคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ IEP หรือที่ประชุมเด็กเฉพาะกรณีใน IEP จะมีข้อมูลในการจัดเด็กเข้ารับบริการการศึกษาและบริการที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ
2. IEP เป็นเครื่องมือในการจัดการกับกระบวนการตรวจสอบและกระบวนการสอนทั้งหมด ฉะนั้น IEP ในแง่ที่เป็นส่วนสำคัญของกระบวนการตรวจสอบและกระบวนการสอนจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการประเมินผลและวิธีการสอน

ขั้นตอนการจัดทำแผน IEP
1. การรวบรมข้อมูล
    - ผลทางการแพทย์
    - รายงานการประเมิน
    - บันทึกจากผู้ปกครอง 

2. การจัดทำแผน
3. การใช้แผน
4. การประเมินผล

  ประโยชน์ของ IEP พอสรุปได้ดังต่อไปนี้
 1. ครู ผู้บริหาร และผู้ทีเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาให้บุคคลที่มีความบกพร่อง ตระหนักและมีความรับผิดชอบ (Accountable) ต่อผลของการจัดการศึกษาที่มีต่อบุคคลเหล่านี้
2. ครู ผู้บริหาร และผู้ที่เกี่ยวข้องตระหนักและทราบว่า บุคคลที่มีความบกพร่องต้องการการศึกษาเฉพาะบุคคลที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการพิเศษของตนเอง ครูจึงมีหน้าที่ที่จะต้องเตรียมพร้อมที่จะสอน
3. พ่อแม่ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการวางแผน IEP สำหรับลูกของเรา และได้รับทราบโดยตลอดตั้งแต่ต้นว่าทางโรงเรียนจะจัดการศึกษาและบริการที่เกี่ยวข้องให้กับลูกของตนอย่างไรและแค่ไหน และทางพ่อแม่จะรับรู้ถึงสิทธิที่จะขอรับทราบข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับลูกของตนทุกระยะ นอกจากนี้ทางวพ่อแม่ยังสามารถให้การนับสนุนกับทางโรงเรียนในการช่วยให้ทางโรงเรียนบรรลุจุดประสงค์ที่วางไว้
4. IEP รับประกันการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพให้กับนักเรียน ไม่ใช่จัดให้นักเรียนเข้าเรียน โดยทางครูและโรงเรียนไม่มีหน้าที่รับผิดชอบในการติดตามความก้าวหน้า และนอกจากนี้จะต้องนำเสนอผลการประเมินต่อพ่อแม่ผู้ปกครองเด็กอีกด้วย
5. IEP ช่วยให้ทางโรงเรียนจัดหาหรือจัดบริการเสริมที่นักเรียนจำเป็นต้องได้รับ เพื่อช่วยให้การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องหรือมีความต้องการพิเศษอย่างมีประสิทธิภาพมีผลต่อการพัฒนาการทุกด้านของนักเรียน


บันทึกอนุทิน 22 เมษายน 2559

 Note 12


การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรม เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
- เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน
- ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด
- เน้นการดูแลแบบองค์รวม (Holistic Approach)

การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
-เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
-เกิดผลดีในระยะยาว
-เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆแทนการฝึกแต่เพียงทักษะทางวิชาการ
-แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล(Individualized Education Program; IEP)
-โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทาง โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน


การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
-การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน(Activity of Daily Living Training)
-การฝึกฝนทักษะสังคม (Social Skill Training)
-การสอนเรื่องราวทางสังคม (Social Story)


การบำบัดทางเลือก
-การสื่อความหมายทดแทน (AAC)
-ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy)
-ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
-การฝังเข็ม (Acupuncture)
-การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)


การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็ก

1. ทักษะทางสังคมยุทธศาสตร์การสอน
-เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
-ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
- จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
-ครูจดบันทึก
-ทำแผน IEP
-การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
-วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
- คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
-ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
- เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน “ครู” ให้เด็กพิเศษ

2. ทักษะภาษา
การวัดความสามารถทางภาษา
-เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
-ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
-ถามหาสิ่งต่างๆไหม
-บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
-ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม

3. ทักษะการช่วยเหลือตนเองเรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด การกินอยู่
การเข้าห้องน้ำ
การแต่งตัว
กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน

4. ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
เด็กรู้สึกว่า “ฉันทำได้”

บันทึกอนุทิน 8 เมษายน 2559

Note 11


- ตอบคำถามในชั้นเรียน โดยใช้ความรู้เดิม
- และค้นหางานวิจัยเกี่ยวกับเด็กพิเศษ ประเภท ออทิสติก ดาวซินโดรม และเขียนสรุปลงในใบงานที่แจกให้

บันทึกอนุทิน 18 มีนาคม 2559

Note 10




" สอบกลางภาค วิชาการจัดประการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย "

บันทึกอนุทิน 11 มีนาคม 2559

Note 9


เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
(Children with Behavioral and Emotional Disorders)


- มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ
- แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น
- มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
- เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินาน ๆ ไม่ได้
- เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้
- ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อยด้านความประพฤติ (Conduct Disorders)
- ทำร้ายผู้อื่น ทำลายสิ่งของ ลักทรัพย์
- ฉุนเฉียวง่าย หุนหันพลันแล่น และเกรี้ยวกราด
- กลับกลอก เชื่อถือไม่ได้ ชอบโกหก ชอบโทษผู้อื่น
- เอะอะและหยาบคาย
- หนีเรียน รวมถึงหนีออกจากบ้าน
- ใช้สารเสพติด
- หมกมุ่นในกิจกรรมทางเพศ

ด้านความตั้งใจและสมาธิ (Attention and Concentration) 
- จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น (Short attention span) อาจไม่เกิน 20 วินาที
- ถูกสิ่งต่างๆ รอบตัวดึงความสนใจได้ตลอดเวลา
- งัวเงีย ไม่แสดงความสนใจใดๆ รวมถึงมีท่าทางเหมือนไม่ฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด

สมาธิสั้น (Attention Deficit)
- มีลักษณะกระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ได้ หยุกหยิกไปมา
- พูดคุยตลอดเวลา มักรบกวนหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น
- มีทักษะการจัดการในระดับต่ำ

การถอนตัวหรือล้มเลิก (Withdrawal)
- หลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และมักรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น
- เฉื่อยชา และมีลักษณะคล้ายเหนื่อยตลอดเวลา
- ขาดความมั่นใจ ขี้อาย ขี้กลัว ไม่ค่อยแสดงความรู้สึก


เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit Hyperactivity Disorders)
ADHD เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวชมีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประการ คือ
- Inattentiveness
- Hyperactivity
- Impulsiveness

Inattentiveness (สมาธิสั้น)
- ทำอะไรได้ไม่นาน วอกแวก ไม่มีสมาธิ
- ไม่สามารถจดจ่อกับงานที่กำลังทำได้นานเพียงพอ
- มักใจลอยหรือเหม่อลอยง่าย
- เด็กเล็กๆจะเล่นอะไรได้ไม่นาน เปลี่ยนของเล่นไปเรื่อยๆ
- เด็กโตมักทำงานไม่เสร็จตามที่สั่ง ทำงานตกหล่น ไม่ครบ ไม่ละเอียด

Hyperactivity (ซนอยู่ไม่นิ่ง)

- ซุกซนไม่ยอมอยู่นิ่ง ซนมาก
- เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
- เหลียวซ้ายแลขวา
- ยุกยิก แกะโน่นเกานี่
- อยู่ไม่สุข ปีนป่าย
- นั่งไม่ติดที่
- ชอบคุยส่งเสียงดังรบกวนคนรอบข้าง

Impulsiveness (หุนหันพลันแล่น)
- ยับยั้งตัวเองไม่ค่อยได้ มักทำอะไรโดยไม่ยั้งคิด วู่วาม
- ขาดความยับยั้งชั่งใจ
- ไม่อดทนต่อการรอคอย หรือกฎระเบียบ
- ไม่อยู่ในกติกา
- ทำอะไรค่อนข้างรุนแรง
- พูดโพล่ง ทะลุกลางปล้อง
- ไม่รอคอยให้คนอื่นพูดจบก่อน ชอบมาสอดแทรกเวลาคนอื่นคุยกัน

สาเหตุ
- ความผิดปกติของสารเคมีบางชนิดในสมอง เช่น โดปามีน (dopamine) นอร์อิพิเนฟริ(norepinephrine)
- ความผิดปกติในการทำงานของวงจรที่ควบคุมสมาธิ และการตื่นตัว อยู่ที่สมองส่วนหน้า(frontal cortex)
- พันธุกรรม
- สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ

บันทึกอนุทิน 5 มีนาคม 2559

Note 8



 " งดการเรียนการสอน "

บันทึกอนุทิน 26 กุมภาพันธ์ 2559

Note 7



" สอบกลางภาค ภาคการเรียนที่ 2
ประจำปีการศึกษา 2558 "